จินตนาการถึงประสบการณ์ที่น่ายินดีสำหรับทั้งชุมชน
ในนิทรรศการ อยู่อย่างที่เป็น เห็นตามที่ปรากฎ เจษฎาจงใจใช้การด้นสดเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผล
งานทั้งหมด การด้นสดของเขาเกิดจากการฝึกฝนมาอย่างยาวนาน และการศึกษาวิจัยเป็นเวลาหลายเดือน วิธี
การทางมนุษยวิทยาช่วยให้เขาอยู่ในกระแสของความคิด และปลดปล่อยตัวเองโดยไม่แข็งขืน เพียงแต่โอน
รับสัญชาตญาณของเขาที่มากจากวิสัยทัศน์ ด้วยความไหลลื่น ชั่วขณะเวลา อิสระที่ไร้ขอบเขต ช่วยจุด
ประกายความเป็นไปได้ในการพัฒนางาน การทำงานเป็นทีมที่ผสมผสานกับไปกับการด้นสด ช่วยให้การ
เกิดประสบการณ์จากการร่วมมือกัน และกลายเป็นรากฐานของพื้นที่จัดแสดงนี้
เพื่อขยายพื้นที่นิทรรศการจากภายในสู่ภายนอกนั้น เจษฎาได้ทาสีผนังกำแพงฝั่งตรงข้าม โดยใช้โทนสีที่ใกล้
เคียงกับพื้นที่จัดแสดง ข้อความที่ถูกพ่นด้วยสีสเปร์ยเหล่านี้ เป็นตัวอักษรที่เขียนกลับด้าน จากซ้ายไปขวา
และข้อความดังกล่าวจะไม่สามารถอ่านได้โดยตรง เว้นแต่จะถอดรหัสเพื่อเข้าถึงเนื้อหา ผ่านเงาสะท้อน
บนบานหน้าต่างกระจกของพื้นที่ โดยข้อความบนผนัง เป็นคำพูดของหมอนวดสายตาพิการสามคนใน
กรุงเทพและเชียงใหม่ ที่ได้ให้บริการนวดกับศิลปิน และให้ข้อสังเกตเหล่านี้ผ่านมือของพวกเขา ในขณะที่
บริเวณชั้นสอง เจษฎาได้นำเอาความเขียวขจีจากภายนอก เข้ามาสู่พื้นที่ภายในห้องแสดง ด้วยการติดตั้ง
หญ้าเทียมบนพื้น รวมถึงงานซาวน์อินสตอลเลชั่นของไม้เท้าสีขาวสำหรับผู้พิการทางสายตา ซึ่งเป็นการ
ทำงานร่วมกันกับหมอนวดสายตาพิการของมูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอดจำนวนห้าคน
นิทรรศการ อยู่อย่างที่เป็น เห็นตามที่ปรากฎ สนับสนุนให้ผู้ชมนำความรู้สึกต่างๆ มาสัมผัสกับศิลปะ เฉกเช่น
เดียวกับดนตรีแจ๊สที่บรรเลง ท่ามกลางป่าที่หลากสีสัน นิทรรศการนี้ เปิดรับพลังและท่วงทำนองของความ
รู้สึกในมนุษย์ได้อย่างกล้าหาญ ด้วยการคิดบวกและความหวัง
Ebb and Flow
The Art Performance
Date: October 1, 2022 at 3 pm.
Venue: Blind Space Bangkok, 2nd floor
The Performers : Unchalee Anantawat, Aracha Cholitgul, Daeng Prajamton, Waew Kasamaponn, Nanthaphop and some audiences from the attended crowd.
Blind Space Bangkok cordially invites you to join us in our inaugural performance: ebb and flow. For this occasion, Jedsada turns the gallery space into an improvisational play. Similar to Action Theather, without scripts or preplanned ideas, ebb and flow will let a short-form performance unravel in the moment. Jedsada will experiment with improvisation in a collective form like that of jazz, creating a space where the actors and audiences could collectively reconfigure their thoughts, emotions, and ways of relating to others.
Photo Credit : Preecha Pattara
pictured bySupapong Laodheerasiri
pictured by Blind Space Bangkok
ชะงักงันพลันเลื่อนไหล
เพอร์ฟอร์มานซ์อาร์ต
๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๕:๐๐ น.
ชั้น ๒ Blind Space Bangkok
ผู้ร่วมแสดง อัญชลี อนันตวัฒน์ / อรช โชลิตกุล / แดง ประจำตน / กษมาพร แสงสุระธรรม / นันทภพ / ผู้ชมในการแสดง
Blind Space Bangkok ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมชมการแสดง ชะงักงันพลันเลื่อนไหล สำหรับการแสดงครั้งแรกในพื้นที่ของพวกเรา เจษฎาในฐานะผู้กำกับการแสดง ได้แปลงพื้นที่แกลเลอรี่ให้กลายเป็นโรงละครเฉพาะกิจ คล้ายกับ Action Theater ชะงักงันพลันเลื่อนไหล จะไม่มีการเตรียมบทหรือหัวข้อไว้ล่วงหน้า แต่จะปล่อยให้การแสดงระยะสั้น ค่อยๆคลี่คลายเผยร่างไปตามช่วงเวลาขณะนั้น เจษฎาต้องการทดลองการแสดงสดแบบด้นสดเป็นกลุ่ม คล้ายกับการแสดงดนตรีแจ๊ส เพื่อเปิดพื้นที่ให้นักแสดงและผู้ชม ค้นหาและค้นพบ ความคิด ความรู้สึก และความสัมพันธ์กับผู้อื่นไปด้วยกัน
The CuratorThe Co-Curators
One of The Artists
สุกสกาว, ๒๕๖๔ / BRIGHT MOMENTS, 2021:
หนึ่งในพวกเรา / One of Us -- acrylic on paper
โลกใบเดียวกัน / One World -- video clip
กำเนิดใหม่ / One Seed -- inflatable balloon
URBAN IN PROGRESS :
CITY ADAPTATION Lab! and PARADISE LOST
December 24, 2021 - April 24, 2022
Bangkok Art and Cultural Centre, Bangkok, Thailand
https://www.facebook.com/baccpage/
"Urban in Progress" is a collaborative contemporary art project that explores various inter-
disciplinary skills for disaster risk management and fair distribution in quality of life for urbanites.
From conducting field research to creating an in-depth understanding of its people and the
surrounding environment, this project is developed in collaboration with professionals from
multiple sectors, such as artists, scholars, architects, conservationists and creatives. Presenting
an alternative concept and point of view derived from lived experiences, the project reveals a
story of the city, its people, future public policies and adjustments the inhabitants will have to
make during changing times. In addition, the project received advisory support from official
entities such as the Bangkok Metropolitan Administration, Thai Public Policy Foundation, One
Bangkok, FutureTales Lab, National Innovation Agency (NIA), Future Innovation Thailand
Institute (FIT), Department of Mental Health, Ministry of Public Health, Research and Innovation
for Sustainability Centre, BIGTrees Project, weipark and Design for Disasters Foundation (D4D),
all of whom were key partners in this collaboration, working towards a common goal of
developing a future public policy for the city.
The project "Urban in Progress" consists of two exhibitions that present the issue of the city from
different perspectives.
CITY ADAPTATION Lab!
Main gallery,7th floor, Bangkok Art and Cultural Center
curated by Vipavee Kunavichayanont, Rinrada Na Chiang Mai (Co-Curator)
Creators: Kalaya Kovidvisith and Samustpan Tanapant / Kaninyan Chandrasma / Methawee
Angthong / Diloklarp Janthachotbutr and Sakson Rouypirom (Na Cafe' at Bangkok 1899) /
Thanawat Maneenawa / Thaneth Warakulnukroh / Nakorn Limpacuptathanon / Note
Panyanggool / Patama Roonrakwit / Phichai Keawvichit / Phusanat Karunwongwat and Little
Monster Family / Siam Attariya / Singh Intrachooto / Suriya Umpansiriratana / Suttisak Soralump
Collaborators: Infinity Dev Company Limited, Pattrica Lipatapanlop and Noun Studio
The "CITY ADAPTATION LAB!" exhibition presents a look into the ways in which humans adapt
in parallel with nature for survival, particularly during the COVID-19 pandemic. Practicing
pragmatic yet positive thinking, the "City Adaptation Lab!" creates awareness for issues
regarding the city, the community, the environment, future public policies, and the support
available from multiple sectors within our society. The featured artworks are by a group of
diverse creators including artists, designers, architects, conversationists, academics, actors and
YouTubers and other creatives who chose to reflect on their point of view about sustainable
living and the challenged city dwellers may face while adjusting for the future. This exhibition
examines the public's lifestyle and the change in their behaviors through innovative exhibition
designed by using augmented reality and virtual reality. This will provide an open access for
easy viewing without the limit of time or space. This is an invitation to introspect and raise
questions in order to help each other find ways to progress and joyfully live with the city, and this
progress starts with us first.
One of Us / หนึ่งในพวกเรา
One World / โลกใบเดียวกัน
One Seed / กำเนิดใหม่
PARADISE LOST
Main gallery, 8th floor, Bangkok Art and Cultural Center
curated by Sanitas Pradittasnee, Narongsak Nilkhet (Co-Curator)
Creators: Chunlaporn Nuntapanich / Jedsada Tangtrakulwong / Karin Phisolyabut / Kitichate
Sridith / Pannaphan Yodmanee / Pichet Klunchun / Pirasri Povatong / Piyatat Hemmatat / Santi
Lorratchawee / Wit Pimkanchanapong / Witaya Junma / Urban Creators
The important of having nature in cities, the existing biophilia hypotheses and the imminent
natural disaster threats in current times all reveal the large impact of human intervention on
nature. This exhibition thus proposes a different point of thought, by bringing the backdrop of
natural landscape into the forefront as the main character, in the hope of making people stop to
think and reflect on what we are leaving behind for the next generation.
The first layer of this exhibition is based on field research, examining questions to deepen the
understanding of changes that occurred from previous eras up until the present. When everyone
is held accountable for the ecosystem in which they live, from their oral to material consumption,
who do they really think about the changing environment? Can a city survive without nature? Are
we educated enough about the natural sciences? Following this, the second layer of the
exhibition invites the audience to explore a redefined Bangkok. The once ignored potential of the
minority will now present Bangkok from a new perspective: through the views of children, other
living creatures in the city, and Urban Green Space Projects.
Paradise Lost exhibition encourages everyone to look at Bangkok from a new mindset where
human beings are simply a small fraction of nature. The exhibition explores adaptability amongst
society and culture that is constantly evolving, thanks to the creation of mutual partnerships
among organisations working towards disseminating information and inspiring different groups of
people, by using contemporary art, culture and creative outputs from different disciplines, such
as urban historians, botanists, landscape architects, urban planners, graphic designers, ceramic
designers, fine art artists and contemporary dancers, to help inspire sustainable living, promoting
a true cohabitation between humans and nature, and finally working towards a future public
policy for Bangkok.
เมืองเปลี่ยนแปลง
("ปรับตัว เปลี่ยนแปลง" และ "กรุงเทพเปลี่ยนแปลง")
๒๔ ธันวาคม ๒๕๖๔ - ๒๔ เมษายน ๒๕๖๕
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
"เมืองเปลี่ยนแปลง" เป็นโครงการศิลปะร่วมสมัยที่สำรวจทักษะการปรับตัวรับมือวิกฤตต่างๆ และการส่งเสริม
คุณภาพชีวิตของพลเมืองอย่างเท่าเทียม ผ่านการทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมรอบตัว สู่การสร้างความ
ตระหนักรู้แก่ประชากรในการคิด วิเคราะห์ มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น โครงการครั้งนี้ได้รับ
ความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน อาทิ ศิลปิน นักวิชาการ สภาปนิก นักอนุรักษ์ และนักสร้างสรรค์ นำ
เสนอแนวคิดและมุมมองที่แตกต่างจากประสบการณ์ตรง สื่อสารถึงประเด็นเกี่ยวกับเมือง ชุมชน นโยบาย
สาธารณะเพื่ออนาคต ตลอดจนการปรับตัวของพลเมืองกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้
ยังสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ในการระดมความคิดเกี่ยวกับปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ปัจจุบัน
อาทิ กรุงเทพมหานคร มูลนิธินโยบายสาธารณะไทย วัน แบงค็อก ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา สำนักงาน
นวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สถาบันออกแบบอนาคตแห่งประเทศไทย (FIT) กรมสุขภาพจิต กระทรวง
สาธารณสุข ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน มูลนิธิรักษ์ไม้ใหญ่ วี พาร์ค และมูลนิธิความคิด
สร้างสรรค์เพื่อรับมือภัยพิบัติ อันเป็นกลไกสำคัญผลักดันความร่วมมือให้เกิดนโยบายการพัฒนาเมืองอย่าง
ยั่งยืนสู่อนาคต
ทั้งนี้ "เมืองเปลี่ยนแปลง" ประกอบด้วย ๒ ทรรศการที่นำเสนอประเด็นของเมืองในมุมมองที่แตกต่างกัน
ได้แก่ นิทรรศการ "ปรับตัว เปลี่ยนแปลง" และนิทรรศการ "กรุงเทพเปลี่ยนแปลง"
นิทรรศการ "ปรับตัว เปลี่ยนแปลง"
ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น ๗ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ภัณฑารักษ์: วิภาวี คุณาวิชยานนท์ และภัณฑารักษ์ร่วม: รินรดา ณ เชียงใหม่
นักสร้างสรรค์: กัลยา โกวิทวิสิทธิ์ และ สมรรถผล ตาณพันธุ์ / คณิณญาณ จันทรสมา / ดิลกลาภ จันทโชติ
บุตร และ เสกสรร รวยภิรมย์ (นา คาเฟ่ ณ บางกอก 1899) / ธนวัตร มณีนาวา / ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ /
นคร ลิมปคุปตถาวร / นท พนายางกูร / ปฐมา หรุ่นรักวิทย์ / พิชัย แก้ววิชิต / ภูศนัฎฐ์ การุณวงศ์วัฒน์ และ
ครอบครัว / เมธาวี อ่างทอง / สยาม อัตตะริยะ / สิงห์ อินทรชูโต / สุริยะ อัมพันศิริรัตน์ / สุทธิศักดิ์ ศร
ลัมพ์
นักสร้างสรรค์ร่วม: บริษัท อินฟินิตี้ เดฟ จำกัด / พัตริกา ลิปตพัลลภ / นาวน์ สตูดิโอ
"ปรับตัว เปลี่ยนแปลง" กล่าวถึงการทำความเข้าใจผ่านทักษะการปรับตัวของมนุษย์อย่างสมดุลกับธรรมชาติ
และสถานการณ์ปัจจุบันที่ประสบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ผสมผสานกับ
การคิดและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อความอยู่รอดท่ามกลางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงของโลก ผ่าน
มุมมอง'ทัศนคติเชิงบวก' ทั้งยังสร้างการตระหนักรู้ในประเด็นที่หลากหลายเกี่ยวข้องกับ เมือง ชุมชน สิ่ง
แวดล้อม นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคน และการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคีต่างๆในสังคม ผ่านผลงาน
ศิลปะร่วมสมัยในรูปแบบที่หลากหลายโดยศิลปิน นักออกแบบ สถาปนิก นักอนุรักษ์ นักวิชาการ นักแสดง ยู
ทูปเบอร์ และนักสร้างสรรค์ ระดมความคิดสะท้อนมุมมอง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการอยู่ร่วมกับความท้าทาย
ของบริบทเมือง ปรับตัวเปลี่ยนมุมมองต่อวิถีชีวิตสู่อนาคตที่ยั่งยืน
นิทรรศการนี้สำรวจบริบทการใช้ชีวิต พฤติกรรมของผู้คนที่เปลี่ยนไป อีกทั้งยังยุกเบิกการนำเสนอรูปแบบการ
ปรับตัวในการจัดนิทรรศการร่วมสมัยในประเทศไทย ด้วยนวัตกรรม Augmented Reality (AR) และ Virtual
Reality (VR) ในการนำเสนอความคิดทางศิลปะ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าถึง และสร้างประสบการณ์การรับ
ชมนิทรรศการได้ทุกที่ทุกเวลา เชิญชวนให้ผู้ชมได้ตระหนัก ตั้งคำถาม และช่วยกันคิดหาวิธีในการ
เปลี่ยนแปลง ปรับตัว เพื่อพัฒนาและอยู่ร่วมกับเมืองนี้ ด้วยความรักอย่างมีความสุข โดยเริ่มจากตัวเราเอง
นิทรรศการ "กรุงเทพเปลี่ยนแปลง (PARADISE LOST)"
ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น ๘ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ภัณฑารักษ์: สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ และภัณฑารักษ์ร่วม ณรงค์ศักดิ์ นิลเขต
นักสร้างสรรค์: กรินทร์ พิศลยบุตร / กิติเชษฐ์ ศรีดิษฐ / จุลพร นันทพานิช / เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ / ปานพรรณ ยอดมณี / ปิยทัต เหมทัต /
พิเชษฐ กลั่นชื่น / พีรศรี โพวาทอง / วิทย์ พิมพ์กาญจนพงศ์ / วิทยา จันมา / สันติ ลอรัชวี / ทีมนักสร้างสรรค์เมือง
นิทรรศการ "กรุงเทพเปลี่ยนแปลง" ว่าด้วยความสำคัญของธรรมชาติในเมือง และความสัมพันธ์ระหว่าง
มนุษย์กับธรรมชาติ การเผชิญหน้าสถานการณ์ฉุกเฉินทางธรรมชาติในปัจจุบัน ทำให้เห็นผลกระทบจากการพ
ยายามควบคุมธรรมชาติของมนุษย์ นิทรรศการครั้งนี้จึงนำเสนอการพลิกมุมมองใหม่ โดยเปลี่ยนภูมิทัศน์
ธรรมชาติที่เคยเป็นเพียงฉากหลัง ให้กลายเป็นสาระสำคัญหลัก เพื่อมุ่งหวังที่จะเปิดพื้นที่ให้ทุกคนได้หยุด ได้
คิด และได้ตระหนักถึงสิ่งที่เราจะส่งต่อให้คนรุ่นถัดไป
เนื้อหานิทรรศการเริ่มจากการเปิดพื้นที่สำรวจ เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากอดีตถึงปัจจุบันผ่านการตั้งคำถาม
เมื่อทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของเมืองและระบบนิเวศ สิ่งที่ทุกคนใช้อุปโภคและบริโภค ล้วนมีผลกระทบต่อ
สภาพแวดล้อม ทุกคนมีมุมมองอย่างไรต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เมืองที่ยั่งยืนจะปราศจากพื้นฐาน
ทางธรรมชาติได้หรือไม่ และทุกคนเข้าใจธรรมชาติวิทยาเพียงใด ส่วนถัดไปจะพาไปสำรวจกรุงเทพในนิยาม
ใหม่ ได้แก่ ศักยภาพของพื้นที่ด้านหลังที่ถูกทิ้งไว้ การมองพื้นที่กรุงเทพในมุมใหม่จากเด็กและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
ในเมือง และโครงการพื้นที่สาธารณะสีเขียวในกรุงเทพ
ขอชวนทุกคนร่วมมองกรุงเทพในมุมมองใหม่ ที่มนุษย์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เพื่อการปรับตัว
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัฒนธรรม รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือทางสังคมจากภาคส่วน
ต่างๆ ที่มุ่งหวังเป็นสื่อกลางในการจุดประกาย และเชื่อมต่อผู้คนที่หลากหลาย ผ่านผลงานศิลปวัฒนธรรมร่วม
สมัย ตลอดจนผลงานสร้างสรรค์สาขาต่างๆ จากนักประวัติศาสตร์เมือง นักพฤกษศาสตร์ ภูมิสถาปนิก นัก
ออกแบบผังเมือง นักออกแบบกราฟิก นักออกแบบเซรามิก ศิลปินทัศนศิลป์ และศิลปินนาฏศิลป์ร่วมสมัย เพื่อ
นำไปสู่ความยั่งยืน และการมีวิสัยทัศน์ของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์และธรรมชาติ รวมถึงการมองหาความ
เป็นไปได้ในการสร้างนโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตของกรุงเทพ
OPEN CALL สำหรับน้องๆอายุ ๖ - ๑๑ ปี
"เพียงสังเกตต้นไม้ภายในบ้าน ก็เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการที่ BACC ได้!"
#BACC ชวนน้องๆ อายุระหว่าง ๖ - ๑๑ ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ร่วมสร้างผลงานศิลปะไปกับเรา ใน
โครงการ "สุกสกาว (BRIGHT MOMENTS)" เพียงวาดภาพหรือระบายสีต้นไม้ชนิดต่างๆ ที่ปลูกอยู่ใน
บ้านของน้องๆ ตามหัวข้อ "หนึ่งในพวกเรา (One of Us)" ลงบนกระดาษสีม่วงหรือสีเหลืองที่เราจัดเตรียมไว้
ให้
ผลงานทุกชิ้นของร้องๆ จะเป็นส่วนหนึ่งในเนิทรรศการ "กรุงเทพเปลี่ยนแปลง (PARADISE LOST)" ที่กำลัง
จะจัดขึ้นบนห้องนิทรรศการ ชั้น 8 ของหอศิลป์กรุงเทพฯ
วิธีติดต่อขอรับกระดาษ ส่งชื่อ-นามสกุล (ไทยและอังกฤษ), ชื่อเล่น, อายุ, โรงเรียน, เบอร์โทรศัพท์, ที่อยู่
สำหรับส่งไปรษณีย์ มาที่อีเมล education@bacc.or.th
ขอรับกระดาษ: ระหว่างวันที่ ๑๕-๓๑ สิงหาคม 2564
ส่งกลับกระดาษ: ระหว่างวันที่ ๑-๑๕ กันยายน 2564
*กระดาษมีจำนวนจำกัด เพียง ๓๑ แผ่น (๑ แผ่นต่อน้องๆ ๑ คนเท่านั้น!)
**ขออนุญาตสงวนสิทธิ์เฉพาะน้องๆ ที่อาศัยในพื้นที่กทม."
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่อีเมล education@bacc.or.th
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "เมืองเปลี่ยนแปลง (Urban in Progress)" ที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์
ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในเมืองหลวง และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางด้านสิ่งแวดล้อม
OPEN CALL สำหรับน้องๆอายุ ๑๒ - ๑๕ ปี
"รู้หรือไม่? สัตว์โลกตัวเล็กๆ มีมุมที่เราคาดไม่ถึงซ่อนอยู่"
#BACC ชวนน้องๆ อายุระหว่าง ๑๒ - ๑๕ ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ร่วมสร้างผลงานศิลปะไปกับเรา ใน
โครงการ "สุกสกาว (BRIGHT MOMENTS)" เพียงถ่ายวีดีโอสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่อยู่ร่วมกับเรา นอกเหนือไป
จากสัตว์เลี้ยง ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ สัตว์ แมลง ฯลฯ ภายใต้หัวข้อ "โลกใบเดียวกัน (One World)"
คลิปความยาวไม่เกิน ๑ นาที โดยจะตัดต่อหรือไม่ตัดต่อก็ได้
ผลงานทุกช้ินของน้องๆ จะเป็นส่วนหนึ่งในนิทรรศการ "กรุงเทพเปลี่ยนแปลง (PARADISE LOST)" ที่กำลัง
จะจัดขึ้นบนห้องนิทรรศการชั้น 8 ของหอศิลป์กรุงเทพ
วิธีส่งผลงาน
1. เข้าไปที่ http://wetransfer.com
2. ใส่ข้อมูลด้านล่างเพื่ออัพโหลดวีดีโอ
Email: oneworldbacc@outlook.com
Password: Bacc2021
3. เมื่อสามารถเข้า account ได้แล้ว ให้อัพโหลดวีดีโอของน้องๆ โดยคลิกไปที่ + Add your files และกรอก
ข้อมูล ชื่อ-นามสกุลของน้อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อีเมลและเบอร์โทรศัพท์ในช่อง Message
4. กดปุ่ม Get a link เพื่ออัพโหลดคลิปวีดีโอ
ส่งผลงานได้ตั้งแต่วันที่ ๑ - ๓๐ กันยายน ๒๕๖๔
*จำกัดเพียง ๓๐ คนเท่านั้น
**ขอสงวนสิทธฺ์เฉพาะน้องๆ ที่อาศัยในพื้นที่กทม.
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่อีเมล education@bacc.or.th
กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ "เมืองเปลี่ยนแปลง (Urban in Progress)" ที่มุ่งเน้นความสัมพันธ์
ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในเมืองหลวง และการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางด้านสิ่งแวดล้อม
IN LOW QUALITY FILE
January 21 - March 25, 2022
The Bubble Arts Group Space, Chiang Mai, Thailand
Gallery Hours: Friday - Sunday, 13:00 - 18:00 PM.
Opening Reception: Friday, January 21, 2022 at 13:00 pm. onwards
Artists: Pathompon Tesprateep / Nontawat Numbenchapol / Jedsada Tangtrakulwong / Paisarn Am-pim / Anurak Tunyapalit / Anusorn Tanyapalit / Surajate Tongchua / Sathit Sattarasart / Ronagorn Kerdchot / Tanyalak Meechumna / Rodwiroon Wannakaew
Curated by Surajate Tongchua
"IN LOW QUALITY FILE" presents a wide variety of videos that doesn't focus on perfection in processes, methods, tools and visual effects; but emphasis on contents, stories.
eight years eight minutes, 2021, single channel video, 08:00 mins. แปดปี แปดนาที, ๒๕๖๔, วีดีโอจอเดี่ยว, ความยาว ๘ นาที
IN LOW QUALITY FILE
๒๑ มกราคม - ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๕
เดอะบับเบิ้ลอาร์ตกรุ๊ปสเปซ จ.เชียงใหม่
เปิดทำการ: วันศุกร์ - วันอาทิตย์ เวลา ๑๓:๐๐ - ๑๘:๐๐ น.
เปิดงาน : วันศุกร์ที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ เวลา ๑๓:๐๐ น. เป็นต้นไป
ศิลปิน : ปฐมพล เทศประทีป / นนทวัฒน นำเบญจพล / เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ / ไพศาล อำพิมพ์ / อนุรักษ์ ธัญญะปาลิต / อนุสรณ์ ธัญญะปาลิต / สุรเจต ทองเจือ / สถิตย์ ศัสตรศาสตร์ / รณกร เกิดโชติ / ธัญลักษณ์ มีชำนะ / โรจวิรุฬห์ วรรรณแก้ว
ภัณฑารักษ์ : สุรเจต ทองเจือ
"IN LOW QUALITY FILE" เป็นการนำเสนอสื่อวีดีโออาร์ต ที่ไม่เน้นความสมบูรณ์แบบในด้านกระบวนการ วิธีการ เครื่องมือการสร้าง และผลของภาพที่ปรากฎมากนัก แต่เน้นไปที่การให้ความสำคัญทางด้านเนื้อหาและเรื่องราว รวมถึงรูปแบบการทดลอง visual elements ที่ปรากฎในผลงานของผู้ถ่ายทอด ตามแต่มุมมองและทัศนคติของผู้สร้างสรรค์
Lost and Found is a project in which a Thai artist attempts to seed native Taiwanese and Thai plants in a garden or a land in Botswana, a country in Southern Africa. This adventure project is planned to be constructed by using online resources. Along the way, unknown cultures, people and nature come
across expectedly. Some paths, the directions are shifted and rerouted; stranded but thrilling.
From time to time, the struggling journey brings personal memories to the surface. Although the
information on the internet may be overloaded, a personal history is limited. This imaginative plant
project seems to be surreal; however, it fosters the knowledge of life and cultures in different parts
of the world.
The instagram "yourland_myland" was created with the intention of using the instagram templates
for the artwork design. The account was not open for the public. At the time of the Online-Artist-in-
Residency program (the whole month of May 2021), the instagram posts also functioned as a daily
journal of the "Lost and Found" adventure project.
/Pandemicship_on_AIR
July 3 - August 7, 2021
Fish Art Center, Taipei, Taiwan
curated by Nien-Ting Chen (เนียนถิง เฉิน) x Chia-Nuan Chen (เจียนวน เฉิน)
Artists: Ting Chaong-Wen (ถิง เฉาเหวิน), Torlarp Larpjaroensook (ต่อลาภ ลาภเจริญสุข), Jedsada Tangtrakulwong (เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์), Supapong Laodheerasiri (ศุภพงศ์ เหล่าธีรศิริ)
Exhibition video guided tour:
This exhibition is the result of a bilateral Online-Artist-in-Residency program between four artists from Taiwan and Thailand for the "BOBA Project-International Exchange in Contemporary Art_ Taiwan and Thailand". However, in the face of the increasingly dangerous Covid-19 pandemic, physical cross-country art exchanges have become difficult to execute. Therefore, online exchanges have become one of the alternatives for us to establish links with distant places.
Cloud computing has become the center of the world. By clicking on a series of seemingly meaningless codes, generated by video tools, the signals lead us across WiFi lines, across submarine communication optical fibre and into the Cloud, where we can safely meet "face to face', and send our warm regards to the artist friends from afar.
The exhibition title "/Pandemicship_on_AIR" is interwoven with special symbols, symbolically mimicking the structure of a video conference link, as an invitation and key to join the audience to our exhibition during the current Covid-19 pandemic. "On AIR" gives a sense of exhibition is live streaming. "AIR" is also the abbreviation of the main theme of the exhibition--Artist-in-Residency. Throughout the month-long residency, each week we shared and discussed different aspects of Tai-Thai traditions and customs, contemporary art, environmental issues, film and local sounds through thematic online chats, guide tours of our studios and even visited a large second-hand market in Chiang Mai, exploring the complex social and historical transitions of Thailand through second-hand goods.
In response to the explosive growth of the pandemic, digital work patterns and logistics networks have increased the volume and speed of all kinds of virtual and physical "liquid flow". The speedy "liquid flow" has piled up the "histories of individual objects" hidden behind each "object" (be it virtual data or physically existing objects), but the state of high speed makes these liquid flows easily become fleeting water. While such a flow in increases the fracture caused by instability, it also leaves more room for the imagination of the objects. Artists pick the messages and residuals produces during the liquid flow, and explore them further. Through a similar process like selecting their own "collection", the artist gives these objects a new narrative and imagination, adding new "histories of individual objects" into them, letting them flow into the viewer's eyes, and into the viewer's perception and memory.
picture by Fotoaura Institute of Photography
picture by Fotoaura Institute of Photography
picture by Fotoaura Institute of Photography
pictured by BOBA Project Team
How To Be Polite While Keeping Your Distance
2021
wood
W 326 x L 470 x H 305 cm.
The installation consists of various kinds of objects, tools, outfits, vehicles, sports that create a sphere or keep bodies at a given distance (to prevent others from invading our personal space).
"Social distancing" or "physical distancing" become a common term in the era of Covid-19. In reality, the physical distancing policy gives the impression that the global public spaces are areas of large scale. However, people routinely have to gather together in small public spaces such as public transportation, elevators, public toilets, regardless of the social distancing guidance. In many situations, people couldn't distance themselves physically from others, especially certain individuals who aren't talking the pandemic seriously.
Pandamicship--A Social Guide to Post-Quarantine Era
May 1 - June 6, 2021
Fotoaura Institute of Photography, Tainan, Taiwan
curated by Nien-Ting Chen (เนียนถิง เฉิน) x Chia-Nuan Chen (เจียนวน เฉิน)
Artists: Chaong-Wen Ting (เฉาเหวิน ถิง), Den-Huei Kao (เดิงฮุย เกา), Wen-Chi Liu (เหวินฉี่ หลิว), Supapong Laodheerasiri (ศุภพงศ์ เหล่าธีรศิริ), Jedsada Tangtrakulwong (เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์), Anukul Chueamon (อนุกูล เชื้อมอญ)
Opening Event : Saturday, May 1st, 2021, 3-4:45 P.M.
Artist Talk : Sunday, May 2nd, 3-5 P.M.
For almost a year and a half, COVID-19 had been raging around since the beginning of 2020 onwards. Countries are still adopting different levels of lockdown measures and borders remain closed while waiting for the arrival and availability of vaccination. COVID-19 had led to restrictions of cross-border mobility because it increases time cost and health risk. Although COVID-19 seems to become less virulent, conforming to social distancing and taking preventive measures are still necessary while waiting for the vaccination to take effect. People have no choice but to get used to the repeated suspension and reopening caused by this pandemic, and with little idea how much loss and recovery will continue to cost by this disaster. Now, what was considered uncommon in the pre-quarantine time becomes the 'new normal'. People's way of living has been altered by this sudden pandemic. Each part of our life is adjusting to adapt to a new habit of work and social interaction. New distance in social interaction becomes precious in this coming-post-quarantine era. The way we connected, especially cross-border interaction, in a solid society is becoming harder to maintain. How do we reconnect with others in this liquidity-like world?
Pandemicship--A Social Guide to the Post-Quarantine Era not only draws a picture of COVID-19's contemporariness but echoes sociologist Zygmunt Bauman's idea of 'liquid modernity' (Liquid Love : On the Frailty of Human Bonds, 2003). People will transit to a society that pursues speed in time and flexibility, which Bauman refers to as liquid modernity, from solid modernity where people occupied space with bodily sensation. Mirroring the current circumstance, restricted cross-border mobility caused by the pandemic has dismantled the way people maintained social relationships and social interaction in a solid model. People are forced by the condition to live in a liquid model which emphasizes speed and highly relies on digital media to continue mindful social relations while keeping physical distances.
Using minimal conditions in day-to-day life as a method, Pandemicship--A Social Guide to the Post-Quarantine Era provides the audience an open, casual but securely devised exchange experience. Artists will perform new strategies and directions on thinking about habits of operation and interaction in daily life, to revolve, re-operate, and re-develop an operative and interactive model which differs from the old one. The displayed artworks are made in an open, light, experimental, and intimate artistic methodology, bringing the audience to re-experience these daily activities in a liquid sensation. The exhibition want the audience to gain a liquid sensational experience through engaging the everyday activities in a new application and interaction, distinguishing from participatory aesthetics which emphasizes a secure but real social interactive guide in the post-quarantine era. It leads the audience into this social distance but sensational exchange exhibition. This exhibition has specially invited Taiwanese and Thai artists to develop this art project to reflect the current situation under the quarantine era. In Taiwan and Thailand, from county to country, individual to individual connection, how connections are destructed by the preventive measures? How do we embrace a new social guide to Pandemicship?
A Series of Works at the Art For Air Exhibition:
เหลือแต่ตอ / Only The Stump Is Left
๒๕๖๔ / 2021
เหล็ก กระดาษและฝุ่น / metal, paper and dust
๕๔ x ๕๖ x ๑๑๐ ซม. / W54 x L56 x H110 cm.
ณ บ้านต้นไม้ สวนสาธารณะหนองบวกหาด / at Tree House, Nong Buak Haad Public Park, Chiang Mai
เมื่อต้นปี เพื่อนบ้านตัดกิ่งไม้ของต้นไม้ทุกต้น ที่ยื่นโผล่พ้นไปที่รั้วบ้านของเธอ ต้นไม้ต่างจากกำแพง งอกงาม เปลี่ยนแปลงรูปทรงไปเรื่อยๆ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้มองย้อนกลับไปในอดีต ถึงเหตุการณ์ต่างๆที่ต้นไม้ถูกกำหนดชะตาชีวิตโดยคน ไม่ได้ตายตามอายุขัย
At the beginning of this year, the next-door neighbor cut all the tree branches that extended to her house without informing. Trees are different than walls; they grow and change their form. After this incident, I look back at all the events in which tree have been cut down in the past two years in the places where I've lived and visited. Without voice, some trees live shorter than their life expectancy.
The metal plate is stenciled in Thai : "A fire burning will not happen when you care for others".
ฟุ้ง คลุ้ง ตลบ
ร่วมงานกับนักศึกษาสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / Diffuse - Collaborate with Multidisciplinary Art Division Students, Faculty of Fine Arts, Chiang Mai University
๒๕๖๔ / 2021
เหล็ก กระดาษและฝุ่น / metal, paper and dust
๙๒.๖ x ๒๘๓ x ๑๔๒.๕ ซม. / W92.5 x L283 x H142.5 cm. ณ ลานชมวิว วัดพระธาตุดอยคำ / at Doikham Panorama View Point, Wat Phrathat Doi Kham, Chiang Mai
ด้วยความอยากรู้ว่าภาพฝุ่นในใจของคนที่อยู่เชียงใหม่เป็นยังไง จึงได้ชวนนักศึกษาชั้นปีที่สองและชั้นปีที่สี่ของสาขาสหศาสตร์ศิลป์ มาช่วยกันสร้างจินตนาการฝุ่นหลากหลายชนิดผ่านตัวหนังสือ อาจจะด้วยการที่แต่ละคนอาศัยอยู่คนละพื้นที่ คนละภูมิลำเนา บางคนเพิ่งจะมาอยู่เชียงใหม่ไม่นาน บางคนอยู่มาตลอดชีวิต ประสบการณ์การประสบพบเจอฝุ่นไม่เหมือนกัน แหล่งที่มาของฝุ่นจึงต่างกัน
What kind of dust in people's minds particularly people who are now living in Chiang Mai? The sophomore and senior students from Multidisciplinary Art Division, Chiang Mai University are invited to contribute texts that tell about the dust in both real and imaginary. As students live in different area in town, some local, some come from other cities, the experience of dust from each one is distinctive.
The metal plate is stenciled in Thai : "Large dust particles cover the body. Tiny dust particles trap in the lung."
ซึ่งกันและกัน - It Takes Two To Tango
๒๕๖๔ / 2021
เหล็ก กระดาษและฝุ่น / metal, paper and dust
๑๑๒.๗ x ๑๓๙.๖ x ๑๘๓.๙ ซม. / W112.7 x L139.6 x H183.9 cm.
ณ ลานทางเข้าอุโมงค์ วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) / at the entrance area to the tunnel, Wat Umong (Suan Phutthatum), Chiang Mai
จากการบอกเล่าของศิลปินหญิงรุ่นใหม่ที่ไปเก็บข้อมูลที่อำเภอแม่แจ่ม เกี่ยวกับการปลูกและกำจัดซากพืชเศรษฐกิจเชิงเดี่ยว ซึ่งทางคนปลูกก็ถามเธอกลับมาว่า ถ้าไม่ปลูกข้าวโพดจะให้ปลูกอะไร ในเมื่อปลูกข้าวโพดยังไงก็ขายได้ ในขณะที่ศิลปินชายรุ่นใหม่ที่ศึกษาเรื่องเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เล่าให้ฟังถึง บริษัทยักษ์ใหญ่บริษัทหนึ่งที่ยังคงทำการสำรวจ และค้นหาพื้นที่ใหม่ๆเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจนี้ เมื่อลองมองดูธุรกิจในเมืองเชียงใหม่ ร้านค้าเชิงเดี่ยวแพร่ขยายครอบคลุมเกือบทุกพื้นที่ในเมือง เพื่ออำนวยความสะดวกแก่หมู่คนทุกกลุ่มวัย ไม่ต้องเดินทางไกลเวลาซื้อของเบ็ดเตล็ด
According to a young female artist who conducted a research on the monoculture at Mae Chaem District in Chiang Mai last year, corn is the first choice for planting in most areas there. One of the farmers whom she interviewed questioned her which other plants could beat the corn, as corn are sold in all seasons. At the same time, a young male artist informed that one of Thailand's biggest companies is continually exploring and searching for new areas to grow this economic crop (corn). When looking at businesses in Chiang Mai, convenience stores could be found all over the city. People of all ages don't have to travel far for buying everyday items.
The metal plate is stenciled in Thai : "Beef consumption is increasing. A Thai-Chinese tycoon is finding new lands for cornfields. Air pollution is getting worse day by day. A high number of patients is visiting hospitals."
ข้อแนะนำในการชมผลงาน :
ฝุ่นจากใต้รองเท้าของคนดูที่เหยียบย่ำลงบนกระดาษสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีขาว ขนาด ๒๙.๗ x ๔๒ ซม. จะทำให้ตัวหนังสือจากเพลทเหล็กฉลุที่อยู่ด้านใต้แผ่นกระดาษปรากฎขึ้น คนดูสามารถนำกระดาษที่ปรากฎข้อความจากฝุ่น ติดตัวกลับไปได้ โดยดึงกระดาษที่ปรากฎตัวหนังสือแล้วออกจากเพลทเหล็ก และสอดกระดาษแผ่นใหม่ที่อยู่ในกล่องเหล็กใส่กระดาษ ให้เข้ามุมของเพลททั้งสี่มุม
Artwork Instruction :
Viewers are invited to step on an A3 piece of paper, press his/her shoes against the metal plate underneath the piece of paper, and then tread carefully all the areas of the paper (as paper embossing technique). After three to five minutes, the texts will appear on the paper. The dust under the shoes will add the color to the paper and make the texts easily readable. The printed paper could takes back home.
ART FOR AIR Exhibition : Because We Breathe In The Same Air
February 14 - April 30, 2021
The 'Art For Air' exhibition is a collaborative effort between the Breath Council, the Chiang Mai Arts and Cultural Center, and various independence art spaces, bringing together creators and artists to take part in various art projects around the public spaces in Chiang Mai.
The main objective for this project is to foster an atmosphere of cooperative discussion, leading to an awareness based on understanding in turn create a synergistic relationship between knowledge and compelling solutions thought the use of contemporary art. To that end, 'Art For Air' acts as a liaison between artists, creative workers, and academics to create an art exhibition that aims to produce varied perspectives regarding the issue of dust pollution and global warming.
The overall message of the exhibition will be presented through the perspective of a city within the forest. By looking at the issue through the symbolism of the forest, we will be able to get a more transparent look at the causes of those problems. Whether it be in terms of energy, industry, agriculture, or even human behaviors, the root cause of all these challenges arises from our intrusion of the forest. In the stream of contemporary art today and tomorrow, it is believed that the environment will increasingly become a central subject, with ties to social issues, politics, and culture, and will only increase in significance to become a focal point of history and civilization. Art isn't simply an expression of visual beauty, but also the beauty of perspectives and realizations, with practical actions and research taking the place of aesthetics as we know them.
'Art For Air' is an attempt to peer into the future of not just the field of contemporary art, but also the quality of the air we breathe through the musings of the artists; whether it be in the form of alternative energy sources, the critique of city layouts that give rise to the issue of dust particles, the cultural management of fire, or any other number of concepts. These deliberations will give rise to new solutions, viewpoints, the theories that can be expressed through the language of contemporary art, which anyone can agree is at its strongest when used the betterment of society, the economy, or culture, allowing us to realize and pass on new possibilities that can allow our collective communities to confidently move forwards the future.
Artists : Angkrit Ajchariyasophon / Apichartpong Weerasethakul / Araya Rasdjarmrearnsook / Busui Ajaw / Chiang Mai Performance Art Group / Chiang Mai Craftmanship School / Christopher Stern / ddmy studio / DREAM SPACE GALLERY / Fire Friend / Hong Kanjana Jeeno / Hug Dee Young Performance Group / Imhathai Suwatthanasilp / Inson Wongsam / Jedsada Tangtrakulwong / Jirawat Navachak / Jood Jung / Kamin Lertchaiprasert / Kanaet Petch / Kamol Phaosavasdi / Kawita Vatanajyankur / Korakrit Arunanondchai / Look Comb / Luck Maisalee / Lunar Selas / Methagod / Myrtille Tibayrenc / Nattaphat Phaetong / Niwat Manatpiyalert / Orit Drori / Phatarawadee Phataranawik / Pen-Ek Rattanaruang / Peungboon Jaiyen / Phattharakorn Singthong / Pichai Pongsasaovapark / Pichakorn Chukiew / Pichet Klunchun / Piyarat Piyapongwiwat / Pornthep Chitphong / Pratchaya Phinthong / Rirkrit Tiravanija / Rodwiroon Wannakaew (Kaladoo) / Ruangsak Anuwatwimon / Sakarin Krue-On / Sanchai Chaiyanan / Sanitas Pradittasnee / DJ Shaky / Siripoj Srivirat / Sittikorn Khawsa-ad / Somluck Puntiboon / Sonoko Prow / Sudaporn Teja / Supachai Satsara / Supapong Laodheerasiri / Surajate Tongchua / Sutthirat Supaparinya / Tawatchai Puntusawasdi / Thaiwijit Puengkasemsomboon / Torlarp Larpjaroensook / Ubatsat / Udom Chimpukdee / Udonsak Krisanamis / Vandal One / Wanlop Hansunthai / Wannawit Patteep / Werachai Jarnrat / Yupha Mahamart
Curated by Torlarp Larpjaroensook, Chol Janepraphaphan, Ubatsat, Kittima Chareeprasit
Venues : Lanna Folklife Museum, Chiang Mai Arts & Cultural Center, Chiang Mai Historical Center, Jingjai Warehouse, The Meeting Room Art Gallery, Gallery Seescape, Dream Space, MAIIAM Contemporary Art Museum, Chiang Mai Art Museum, Wat Umong, Wat Phrathat Doi Kham, Suan Buak Haad Public Park, MR. Phumin Electronic Shop
Opening Event : Sunday, February 14, 2021, 4:30 - 10:00 pm. at Three Kings Monument, Chiang Mai
ART FOR AIR (ศิลปะเพื่อลมหายใจ) : ลมหายใจเดียวกัน
๑๔ กุมภาพันธ์ - ๓๐ เมษายน ๒๕๖๔
นิทรรศการ "Art For Air" เป็นความร่วมมือกันระหว่างสภาลมหายใจเชียงใหม่ หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ (สามกษัตริย์) และพื้นที่ศิลปะอิสระ โดยได้รับความร่วมมือจากนักสร้างสรรค์ ศิลปิน นำเสนอโครงการศิลปะในพื้นที่สาธารณะรอบเมืองเชียงใหม่ รวมไปถึงนักวิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ สร้างบรรยากาศการวิพากษ์ มุมมองต่อปัญหา และความตระหนักบนความเข้าใจปรากฎการณ์ฝุ่นควันและสภาวะโลกร้อน
ภาพรวมของนิทรรศการนี้เป็นการวิพากษ์ จากมุมมองของเมืองในป่า การซ้อนทับด้วยความของป่า จะทำให้เราได้เห็นภาพของปัญหาที่ชัดเจน จะเห็นได้ว่าปัญหาทั้งทางด้านพลังงาน อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ไปจนถึงพฤติกรรมของมนุษย์ ล้วนเป็นการล่วงเข้าไปในนิยามของป่าทั้งสิ้น ในกระแสธารของศิลปะร่วมสมัยปัจจุบันและอนาคตข้างหน้า เชื่อว่าประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม ที่ผูกโยงกับสังคม การเมือง วัฒนธรรม จะยิ่งทวีความเข้มข้น และเป็นหมุดหมายทางประวัติศาสตร์ของอารยธรรม ศิลปะไม่ใช่เพียงแค่การสื่อสารทางด้านความงามที่ตาเห็น แต่ความงามทางทัศนคติของการตระหนักรู้ การลงมือในภาคปฏิบัติและการค้นคว้า อาจจะเข้ามาแทนที่สุนทรียภาพแบบเดิม
"Art For Air" เป็นทั้งการมองไปในอนาคตของศิลปะร่วมสมัย และอนาคตของสภาพอากาศ ด้วยกระบวนความคิดของศิลปิน ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอแนวคิดของพลังงานทดแทน การวิพากษ์โครงสร้างของการเมือง ที่เป็นผลต่อการเกิดขึ้นของฝุ่นขนาดเล็ก การจัดการไฟเชิงวัฒนธรรม และอีกหลายๆวิธีคิดที่จะนำไปสู่ทางออก ความเห็นและสมมุติฐานมากมายจะได้รับการแสดงออก ผ่านภาษษของศิลปะร่วมสมัย ที่ทุกๆคนจะเห็นพ้องต้องกันว่า พลังทางศิลปะจะเกิดขึ้นเมื่อได้ส่งเสริมการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และมีส่วนร่วมในการปรับปรุงสภาพสังคม ด้วยการมองเห็น ตระหนัก และช่วยกันส่ง ต่อความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้กับชุมชนที่เราอาศัยอยู่ต่อไป
ศิลปิน : อังกฤษ อัจฉริยโสภณ / อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล / อารยา ราษฎร์จำเริญสุข / บู้ซือ อาจอ / Chiang Mai Performance Art Group / กลุ่มสล่าลานนา / Christopher Stern / ddmy studio / DREAM SPACE GALLERY / เพื่อนไฟ / กาญจนา จีโน / กลุ่มละครละอ่อนฮักดี / อิ่มหทัย สุวัฒนศิลป์ / อินสนธิ์ วงศ์สาม / เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ / จิรวัฒน์ นาวาจักร์ / Jood Jung / คามิน เลิศชัยประเสริฐ / คเณศ นิ่มวัฒน์ (เพชร) / กมล เผ่าสวัสดิ์ / กวิตา วัฒนะชยังกูล / กรกฤต อรุณานนท์ชัย / อิสรากาญจน์ ยิ่งยง / ลักษณ์ ใหม่สาลี / ลูน่า เซลาส / Methagod / Myrtille Tibayrenc / ณัฐภัทร แผ่ทอง / นิวัฒน์ นมัสปิยะเลิศ / โอริท โดรรี / ภัทรวดี ภัทรนาวิก / เป็นเอก รัตนเรือง / พึ่งบุญ ใจเย็น / ภัทรกร สิงห์ทอง / พิชัย พงศาเสาวภาคย์ / พิชากร ชูเขียว / พิเชษฐ กลั่นชื่น / ปิยะรัศมิ์ ปิยะพงศ์วิวัฒน์ / พรเทพ จิตผ่อง / ปรัชญา พิณทอง / ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช / โรจน์วิรุฬห์ วรรณแก้ว / เรืองศักดิ์ อนุวัตรวิมล / สาครินทร์ เครืออ่อน / สัญชัย ชัยนันท์ / สนิทัศน์ ประดิษฐ์ทัศนีย์ / DJ Shaky / ศิริพจน์ ศรีวิรัตน์ / สิทธิกร ขาวสะอาด / สมลักษณ์ ปันติบุญ / โซโนโกะ พราว / สุดาภรณ์ เตจา / ศุภชัย ศาสตร์สาระ / ศุภพงศ์ เหล่าธีรศิริ / สุรเจต ทองเจือ / สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา / ธวัชชัย พันธุ์สวัสดิ์ / ไทวิจิต พึ่งเกษมสมบูรณ์ / ต่อลาภ ลาภเจริญสุข / อุบัติสัตย์ / อุดม ฉิมภักดี / อุดมศักดิ์ กฤษณมิษ / Vandal One / วัลลภ หาญสันเทียะ / วรรณวิทย์ เพ็ชรตีบ / วีระชัย จารย์รัตน์ / ยุพา มหามาตร
ภัณฑารักษ์ : ต่อลาภ ลาภเจริญสุข / ชล เจนประภาพันธ์ / อุบัติสัตย์ / กิตติมา จารีประสิทธิ์
สถานที่ : พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา / หอประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ / หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ / โกดังจริงใจ / เดอะ มิทติ้ง รูม อาร์ต แกลเลอรี่ / แกลเลอรี่ ซีสเคป / ดรีมสเปสแกลเลอรี่ / พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม / เชียงใหม่ อาร์ตมิวเซียม / สวนสาธารณะสวนบวกหาด / วัดพระธาตุดอยคำ / วัดอุโมงค์(สวนพุทธธรรม) / ร้านซ่อมทีวีนายภูมินทร์ กันธาสี
พิธีเปิด : วันอาทิตย์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ เวลา ๑๖.๓๐ - ๒๒.๐๐ น. ณ ลานอนุสาวรีย์สามกษัตริย์