Don't Wait Until Tomorrow
September 15 - October 26, 2019
Gallery VER, Bangkok
Opening Reception: September 15th, 6pm onward
The exhibition "Don't Wait Until Tomorrow" adopted one of the motto of Professor Silpa
Bhirasri which stated that "Tomorrow Is Too Late', which is used to remind his students to
be diligent in their practice as well as seeing the value of time. The motto is interpreted
and applied in creating the work, under the concept of different types of time, such as
specific time, postponing, times in the period of life, stressing the importance of the
present, delayed, as well as learning from observations on human behavior.
Professor Silpa Bhirasri (15 September 1892 - 14 May 1962), born Corrado Feroci, was a
Tuscan-born Thai sculptor from Florence who served under the crown of King
Chulalongkorn (Rama V). He is considered the father of modern art in Thailand. He
established the School of Fine Art, which later became Silpakorn University. Silpa Bhirasri
is the first chancellor of the university.
Every September 15th, which is the birthday of Professor Silpa, is considered "Silpa
Bhirasri Day" to commemorate his good will towards Silpakorn University and Thailand. In
this exhibition, these specific date and month are being used as an essential element of
artworks.
The exhibition consists of three parts: "If There's No Tomorrow", "Procrastinate", and
"Late Arrival".
"If There's No Tomorrow" is a series of moving images from photographs and video clips
that were recorded over the years 2013 through 2019. The work is separated into 9
chapters, with the length of 15 minutes in total. Each chapter will gradually disappear
during the exhibition period. The 2nd chapter (September) and the 4th chapter (Half
Empty or Half Full) disappeared on September 24th, 2019. The 3rd chapter (Pass The
Time) disappeared on October 3rd, 2019, and the 5th chapter (Day by Day) disappeared
on October 5th, 2019. The number of chapters, the length of the video, and the dates in
which the chapters are taken away related to the date of birth of Professoe Silpa
Bhirasri, Which is September 15th, 1892 (2435 in Buddhist calendar). The audiences who
visit the exhibition too late will not be able to see every chapters.
"Procrastinate" is an installation art that applies the skills and experience of the
professional art handling and exhibition installation team. They have to make the length
between two spots in 159 centimeters, without using measurement tools. 159 stands for
September 15th. Each spot is painted with phosphorescent or glow-in-the-dark paint.
Every time they make mistake, the size of the spot is getting larger. The more they
miscalculated, the bigger size of spots on the wall.
"Late Arrival"
The entrance hall and main exhibition room are scaled down / A gamble that lets the
audience be the ignition of the artwork / The transition from one object to another /
Putting pieces together and arranging each sequence.
อย่ารอให้ถึงพรุ่งนี้
๑๕ กันยายน - ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๒
แกลเลอรี่ เวอร์ กรุงเทพ
พิธีเปิด วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๒ เวลา ๑๘.๐๐ น. เป็นต้นไป
นิทรรศการ "อย่ารอให้ถึงพรุงนี้" ได้นำหนึ่งในคติพจน์ของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ที่ว่า "พรุ่งนี้ก็สาย
เสียแล้ว" ซึ่งเป็นคำกล่าวเพื่อเตือนสตินักศึกษา ให้มีความขยันในการทำงาน และเล็งเห็นคุณค่าของ
เวลา มาตีความและประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ภายใต้กรอบคิดเรื่องเวลาในประเภทต่างๆ
เช่น เวลาที่เฉพาะเจาะจง การเลื่อนเวลาออกไปเรื่อยๆ กาลเวลาของช่วงชีวิต การให้ความสำคัญกับ
ปัจจุบัน ความล่าช้ากว่าเวลาที่กำหนด ตลอดจนศึกษาพฤติกรรมมนุษย์จากการสังเกตการณ์
ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ - ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕) เดิมชื่อ คอร์รา
โด เฟโรชี ชาวอิตาเลียนสัญชาติไทย เป็นประติมากรจากเมืองฟลอเรนซ์ ที่เข้ามารับราชการใน
ประเทศไทย ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ถือเป็นบิดาแห่งศิลปะ
สมัยใหม่ในประเทศไทย ผู้ก่อตั้งและอาจารย์สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลัง
ได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร โดยศาสตราจารย์ศิลป์ได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี
คนแรกของมหาวิทยาลัย
วันที่ ๑๕ กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของศาสตราจารย์ศิลป์ ถือเป็น วัน"ศิลป์ พีระศรี"
จัดขึ้นเพื่อเป็นการรำลึกถึงคุณงามความดีของศาสตราจารย์ศิลป์ ที่มีต่อมหาวิทยาลัยศิลปากรและ
ประเทศไทย ตัวเลขของวันที่และเดือนกันยายนนี้ ยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผลงานศิลปะใน
นิทรรศการนี้
ในนิทรรศการประกอบด้วยงานสามส่วน คือ ถ้าไม่มีวันพรุ่งนี้ ผัดวันประกันพรุ่ง และ มาทีหลัง
ถ้าไม่มีวันพรุ่งนี้ เป็นงานภาพเคลื่อนไหวจากภาพถ่ายและคลิปวีดีโอที่บันทีกไว้ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๖ -
๒๕๖๒ งานแบ่งออกเป็น ๙ บท ระยะเวลาทั้งหมด ๑๕ นาที บทต่างๆจะค่อยๆหายไปในระหว่างช่วงเวลา
ของนิทรรศการ บทที่ ๒ (กันยายน) และ บทที่ ๔ (ครึ่งแก้ว) หายไปในวันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๖๒ บทที่
๓ (ฆ่าเวลา) หายไปในวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๖๒ และบทที่ ๕ (วันต่อวัน) หายไปในวันที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๒
ตัวเลขจำนวนบท ระยะเวลางานวีดีโอ วันที่ที่ชิ้นงานหายไป มาจากตัวเลขวันเกิดของศาสตราจารย์ศิลป์
พีระศรี คือ วันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ คนดูที่มาดูนิทรรศการช้า หรือมาทีหลัง จะเห็นงานไม่ครบ
ทุกชิ้น
ผัดวันประกันพรุ่ง เป็นการประยุกต์ใช้ทักษะ ความชำนาญ ประสบการณ์ของทีมติดตั้งนิทรรศการ ใน
การกะระยะความยาว ๑๕๙ เซนติเมตรบนฝาผนังห้องนิทรรศการ โดยไม่ใช้เครื่องมือช่วยในการวัด
กะเกณฑ์ระยะจากสายตา ๑๕๙ คือตัวเลขที่มาจากวันที่และเดือนของวันคล้ายวันเกิดศาสตราจารย์ศิลป์
พีระศรี จุดวงกลมระบายด้วยผงฟอสฟอรัสผงสีขาว ทำให้จุดวงกลมนี้เรืองแสงเมื่อปิดไฟ ขนาดของจุด
เรืองแสงจะใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ทุกครั้งที่มีการกำหนดจุดใหม่บนฝาผนัง ยิ่งผิดพลาดในการกะระยะ ขนาด
ของจุดเรืองแสงก็จะยิ่งใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ
มาทีหลัง เกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สัดส่วนที่ลดลงของโถงทางเข้าและห้องแสดง
งานหลัก การเสี่ยงโชคในการให้คนดูเป็นต้นกำเนิดของผลงาน การเปลี่ยนผ่านจากวัตถุชนิดหนึ่ง
กลายเป็นวัตถุอีกชนิดหนึ่ง และการปะติดปะต่อและไล่เรียงลำดับเหตุการณ์
เสวนาหัวข้อ 'อย่ารอให้รู้ในวันพรุ่งนี้ / Don't Wait Until Tomorrow ...to Know' โดยอาจารย์ตี๋ ทิพย์นภา สิริวิไชโย และ มยุเรศ ตุลวรรธนะวันเสาร์ที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๖๒ เวลา ๑๔.๐๐ - ๑๖.๐๐ น.โหราศาสตร์เกี่ยวข้องกับการจัดนิทรรศการศิลปะอย่างไร?
ว่าด้วยเรื่องราวทางพื้นที่ และกาลเวลา ผ่านลมและน้ำ หรือที่เรียกอีกชื่อว่าศาสตร์ฮวงจุ้ย และศาสตร์ทางสถาปัตยกรรม เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการจัดวางพื้นที่ การแก้ปัญหาตำแหน่งและทิศทางของการวางวัตถุทางศิลปะ
เสวนาโดยอาจารย์ตี๋ ทิพย์นภา สิริวิไชโย ซินแส นักพยากรณ์ในสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ ผู้ที่จะมาตรวจภายในฮวงจุ้ยของแกลเลอรี่เวอร์ เป็นตัวอย่างในการจัดการพื้นที่ โดยอิงศาสตร์ทางฮวงจุ้ย รวมถึงชี้แนะเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงวิธีวางผลงาน ลักษณะการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติในอนาคต ร่วมด้วยคุณมยุเรศ ตุลวธธนะ มัณฑนากรที่มีประสบการณ์การทำงานทางด้านการตกแต่งภายใน และการทำงานเชิงสถาปัตยกรรมร่วมกับซินแสมาแล้วอย่างยาวนาน เพื่อแนะนำการทำงานเชิงสถาปัตยกรรม และการออกแบบสำหรับการจัดนิทรรศการศิลปะ
เสวนาโดยอาจารย์ตี๋ ทิพย์นภา สิริวิไชโย ซินแส นักพยากรณ์ในสมาคมโหราศาสตร์นานาชาติ ผู้ที่จะมาตรวจภายในฮวงจุ้ยของแกลเลอรี่เวอร์ เป็นตัวอย่างในการจัดการพื้นที่ โดยอิงศาสตร์ทางฮวงจุ้ย รวมถึงชี้แนะเพื่อปรับปรุง เปลี่ยนแปลงวิธีวางผลงาน ลักษณะการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติในอนาคต ร่วมด้วยคุณมยุเรศ ตุลวธธนะ มัณฑนากรที่มีประสบการณ์การทำงานทางด้านการตกแต่งภายใน และการทำงานเชิงสถาปัตยกรรมร่วมกับซินแสมาแล้วอย่างยาวนาน เพื่อแนะนำการทำงานเชิงสถาปัตยกรรม และการออกแบบสำหรับการจัดนิทรรศการศิลปะ
การเสวนาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ Don't Wait Until Tomorrow จัดขึ้นโดยแกลเลอรี่เวอร์
Don't Wait Until Tomorrow ...to Know (Educational Program)
Saturday, 19 October 2019, 2-4 pm. at Gallery VER
Speakers: Tipnapa Siriwichaiyo, Mayurait Tulwattana
How Feng Shui associated with art exhibition?
Tipnapa Siriwichaiyo, a prophet and Feng Shui master from the International Astrology Society will inspect all the design of spaces and location of Gallery VER with Feng Shui principles. He will give Feng Shui tips for the exhibition presentation and space management. Whereas Mayurait Tulwattana, a senior interior designer will examine the architectural structure and interior design of Gallery VER. She will point out how to make exhibition presentation effective in this gallery as well as the advantages and disadvantages of gallery layout.