#LetBygonesBeBygones
October 31 - November 29, 2020 (Extended to December 6, 2020)
Gallery Seescape, Chiang Mai
Opening event: October 31st, 6:30 pm
Artist Talk: October 31st, 7 pm
Secret Art Night event: November 28th, 4-10pm
Each year, the PM2.5 crisis in Chiang Mai lasted longer and worsen. Contrarily, when the smog crisis in
Bangkok happened; it was solved in a short period of time. It's time for residents to speak up and claim
their rights to breathe clean air.
Curatorial Statement by Sebastian Tayac:
< Haze is always a serious obstacle to the progress if survey work, but with the smoke from
burning trees added it rendered operations next to impossible > (p. 130). < The haze has now
set in and, until rain fall, it was hopeless to attempt any triangulation work ; we therefore filled
up the time with chain and compass traverses > (p. 133). < The smoke, added to the haze,
rendered everything in the distance invisible except the sun, which pierced the gloom with dull
red light > (p. 135) < It was necessary that our work on this peak should be as complete as
possible, for from this point began the eastern boundary of Siam. But a dense haze veiled the
face of the country, and, while we anxiously waited from day to day, our provisions ran short.
It was not ill April 22 that we could finish our observations > (p. 191)
McCarthy, James. 1900. Surveying and Exploring in Siam, Lordes: J. Murray.
Quoted by Olivier Evrard et Mary Mostafanezhad in Air Pollution in Northern Thailand:
From "Smoky Season" to Narratives on Ecological Crisis, Moussons, No34, 2019, pp. 66-67
Hazadous, uncomfortable, insecure are words that seem that most appropriate to define the fellings
describing the atmosphere of this new exhibition of works by Jedsada Tangtrakulwong. By challenging
our carelessness, he decided to bring back thoughts of negative feelings of the first months of each year,
namely between February and April, which the people of the Northern Thailand associate with the
pollution, smoke, haze and dust that triggers numerous environmental, health and political-economic
problems. But why did he choose to insist on this topic when the present moment the weather is
pleasant in Chiang Mai? Why would he want to waste these few moments of happiness thinking of the
coming/last months? As a citizen/artist, Jedsada Tangtrakulwong, felt he had a duty toward this
meaningful topic. He also believes Jean Paul Sartre (1905-1980) words when he wrote in What is
Literature? that "one of the chief motives of artistic creation is certainly the need of feeling that we are
essential in relationship to the world. If I fix on canvas or in writing a certain aspect of the fields or the
sea or a look on someone's face which I have disclosed, I am conscious of having produced them by
condensing relationships, by introducing order where there were none, by imposing the unity of mind on
the diversity of things."
As human beings, walking (as a motor need) as well as the breath, the movement of our bodies to
inhale and exhale, are both in the essential category of the physiological needs defined by Abraham
Harold Maslow (1908-1970) in his Hierarchy of Human Needs. In his installation, Jedsada
established a link with our way of walking and breathing, as an allusion of what we are
all experienced during the "Smoky Season". Unlike other artists artworks - 1976 A Line Made by
Walking by Richard Long (b. 1945) in 1967 or the 1985 performance Roadworks by Mona Hatoum (b.
1952) - the act of walking here is not part of his creative process but rather about its interaction and
reception by the viewers. In the two exhibition rooms, the paintings are not hung on the walls, nor
placed on the ground like artworks of Carl Andre (b. 1935) to walk directly upon these floor sculptures,
but on the contrary below the spectators' feet, visible but inaccessible. The metal grid walkway, as well
as the glass plate thus play the role of a wall of smoke which obstructs the view, preventing us from
seeing what is in front of us. Jedsada puts the beholder in an uncomfortable position as the latter
becomes a non-viewer who cannot access the painted works. However, for sure, the viewer will not
renounce and probably he will move around the room to find the most appropriate position to appreciate
artworks.
With this installation, Jedsada is keeping us asking questions about the nature of the artwork. Are
only the paintings difficult to access, or does the entire installation make a whole? Why aren't the works
on display more easily visible? If the artworks are under our feet, it is for Jedsada - drawing inspiration
from Sigmund Freud (1856-1939) who considered psychoanalysis as an archeology of the mind - to
establish a link between our past and our present transforming hid recent artworks into ancient artefacts.
The paintings in the two rooms correspond to abstract works with different shapes and colors (green,
yellow, orange, red, violet and brown). No, it is not an umpteenth illustration of the color theory of the
Bauhaus' artists, Wassily Kandinsky (1866-1944) or Paul Klee (1879-1940), but the colors used by the
application IQ AirVisual to define the level of pollution in various city in the world. Since the beginning
of the year, he has chosen to collect every hour, every day for several months (from January to May
2020), the pollution indicators of three places (Bangkok, Chiang Mai and Ban Pong Neua in Chiang
Mai) then to restore these results in the form of abstract works, sometimes according to several levels of
painting according to the collected data. Why has this problem been going on for years without really
feeling like things are getting better? Jedsada is an artist, and the same as other citizens, he does not
have answers, but his duty is to question again and again to find solutions. As he knows, this is a very
complex situation and it will take years to solve, but he and others need to think about this, during the
whole year, and not only during a few months.
Even before the "Smoky Season" was accepted and considered an inevitable seasonal
phenomenon it was described in the accounts of 19th century Western explorer, Jame McCarthy, as he
documented the mountains in the area of Chiang Mai and Chiang Rai in 1891 and 1893. Today as
researchers, Olivier Evrard and Mary Mostafanezhad study the increasingly controversial/problematic
air pollution in Chiang Mai and its consequences, they state the "mode of development in which
technical and civilizational choices have favored the development of economic inequalities, promoted
commercial agriculture without providing alternative techniques, idealized rural mountainous areas by
dehumanizing them and ultimately disconnected urban centers from their ecological and social
margins."
#ที่แล้วก็แล้วไป
๓๑ ตุลาคม - ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ (ขยายเวลาจัดแสดงจนถึง ๖ ธันวาคม ๒๕๖๓)
แกลเลอรี่ซีสเคป เชียงใหม่
เปิดนิทรรศการ วันเสาร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๘.๓๐ น.
ศิลปินเสวนา วันเสาร์ที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๙.๐๐ น.
งานซีเคร็ท อาร์ท ไนท์ วันเสาร์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๖.๐๐ - ๒๒.๐๐ น.
หมอกควันที่เชียงใหม่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ยาวนานและรุนแรงขึ้นทุกปี แต่ทว่าเมื่อกรุงเทพเกิดปัญหา
หมอกควัน ฝุ่นพิษมักจะได้รับการบรรเทา และหายไปในเวลาไม่นาน คงจะดีถ้าผู้คนได้เริ่มตระหนักว่า
สุขภาพที่ดีอาจจะสำคัญกว่าเงิน และเริ่มทวงสิทธิในการมีอากาศบริสุทธิ์หายใจ
ข้อเขียนจากภัณฑารักษ์ เซบาสเตียน ตา-ยาค :
"หมอกเป็นอุปสรรคขัดขวางความก้าวหน้าของงานสำรวจมาตลอด เมื่อมีควันไฟป่าซ้ำเข้าไป
อีก ก็แทบเป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิบัติการ " (หน้า 130) "ตอนนี้หมอกลงแล้ว ถ้าฝนยังไม่ตก คง
ไม่มีทางทำรังวัดสามเหลี่ยมได้ : เราจึงฆ่าเวลาด้วยการเดินวางหมุดฐานวงรอบด้วยโซ่และ
เข็มทิศ" (หน้า 133) "ควันที่ผสมเข้ากับหมอกบดบังทัศนวิสัยระยะไกล มีแต่แสงอาทิตย์
สีแดงหม่นๆ เท่านั้นที่ส่องทะลุความมืดมัวลงมาได้" (หน้า 135) "เราจำเป็นต้องทำงานบน
ยอดเขาให้เสร็จสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะที่นี่คือจุดเริ่มต้นพรมแดนฝั่งตะวันออก
ของสยาม แต่หมอกหนาพรางภูมิประเทศ และเราก็ได้แต่รออย่างกระวนกระวาย วันแล้ววัน
เล่า ระหว่างที่เสบียงร่อยหรอลงทุกที ล่วงเช้าวันที่ 22 เมษายน งานสำรวจจึงเสร็จสิ้นลงได้ "
(หน้า 191)
แมคคาร์ธีย, เจมส์. 2443. บันทึกการเดินสำรวจประเทศสยาม, ลอนเดรส: เจ. เมอร์เรย์.
อ้างถึงโดยโอลิวิเยร์ เอฟราร์ด และแมรี่ มอสตาฟาเนซาด ใน มลพิษทางอากาศใน
ภาคเหนือของประเทศไทย: จาก "ฤดูหมอกควัน" สู่วิกฤตการณ์ระบบนิเวศ, มูส์ซองส์,
No34, 2562, หน้า 66-67
อันตราย อึดอัด ไม่ปลอดภัย เหล่านี้คือคำอธิบายนิทรรศการผลงานใหม่ของเจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ ที่
ท้าทายความปล่อยปะละเลยของเรา ด้วยการทบทวนความรู้สึกเชิงลบ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงต้นของทุกปี
ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน อันเป็นห้วงเวลาที่ชาวเหนือของไทยต้องเผชิญกับมลพิษ หมอกควัน
และฝุ่น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดปัญหาทั้งทางสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และเศรษฐกิจการเมือง แต่เหตุใดเขาจึงเปิด
ประเด็นขึ้นมาในช่วงที่อากาศเชียงใหม่กำลังสดใสอย่างนี้? ทำไมจึงมาทำลายความสุข ด้วยการคิดถึง
ปัญหาในเดือนข้างหน้า หรือเดือนที่ผ่านมาแล้ว? ในฐานะประชาชน/ศิลปิน เจษฎารู้สึกว่าเขามีหน้าที่ข้อง
เกี่ยวกับประเด็นอันสำคัญนี้ และเขายังเชื่อในคำกล่าวของฌอง พอล ซาร์ท (2488 -2523) ที่เขียนไว้ใน
หนังสือ วรรณกรรมคืออะไร? ว่า "หนึ่งในแรงจูงใจหลักของการสร้างงานศิลปะ คือความปรารถนาที่จะรู้สึก
ว่าเรามีความสัมพันธ์กับโลกอย่างมีสาระสำคัญ หากข้าพเจ้าจะวาดบนผ้าใบ หรือเขียนแง่มุมใดกี่ยวกับ
ทิวทัศน์ ท้องทะเล หรือสีหน้าของคนที่ข้าพเจ้าถ่ายทอดความรู้สึกของเขาออกมา ข้าพเจ้าก็จะกระทำโดยมี
สติสำนึกรู้ ว่าได้สร้างงานขึ้นจากการกลั่นกรองความสัมพันธ์ การเติมลำดับชั้นความหมายลงในความ
ว่างเปล่า และการใส่เอกภาพความนึกคิดเข้าไปปรุงแต่งพลวัตแห่งสรรพสิ่ง"
นอกจากนี้ ในฐานะมนุษย์ การเดิน (รวมไปถึงการใช้เครื่องยนต์) และการหายใจ การเคลื่อนไหวร่างกาย
เพื่อหายใจเข้าและหายใจออก ล้วนเป็นความต้องการทางกายภาพตามนิยามของอับราฮัม ฮาโรลด์
มาสโลว์ (2541 - 2513) ในลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ งานอินสตอลเลชั่นโดยเจษฎา สร้างความ
เชื่อมโยงระหว่างวิธีการที่เราเดินและหายใจ เพื่อสื่อถึงสิ่งที่เราทุกคนต้องเผชิญใน "ฤดูหมอกควัน"
งานของเขาเน้นที่การปฏิสัมพันธ์และตอบรับของผู้ชม โดยมิได้นำการเดินมาเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอน
สร้างสรรค์อย่างท่ีเคยเห็นในงานของศิลปินอื่น เช่น A Line Made by Walking ผลงานปี 2510 โดย
ริชาร์ด ลอง (เกิด 2488) หรือ Roadworks ศิลปะการแสดงปี 2528 โดยโมนา ฮาทูม (เกิด 2495)
งานอินสตอลเลชั่นของเจษฎา ไม่ได้แขวนภาพวาดบนผนังห้องจัดแสดงทั้งสองห้อง และแทนที่จะวางเป็น
พื้นให้ผู้คนก้าวเข้าสู่ชิ้นงานประติมากรรมบนพื้นตามแบบของ คาร์ล อังเดร (เกิด 2496) เจษฎากลับจัดไว้
ใต้เท้าของผู้ชม ให้มองเห็นได้แต่เข้าไม่ถึง ทางเดินบนพื้นตะแกรงเหล็กและแผ่นกระจก เปรียบเสมือน
กำแพงควันที่บดบังสายตา ทำให้เราไม่อาจมองเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เจษฎาวางผู้ชมไว้ในตำแหน่งที่
ไม่ถนัด จนต้องกลายเป็นผู้ไม่ได้ชม เพราะเข้าไม่ถึงงานภาพวาด อย่างไรก็ตาม ผู้ชมจะไม่ยอมแพ้ และอาจ
พยายามขยับเคลื่อนตัวไปรอบๆห้อง เพื่อหาตำแหน่งที่จะชื่นชมชิ้นงานได้ชัดเจนที่สุด
ด้วยผลงานอินสตอลเลชั่นครั้งนี้ เจษฎาทำให้เราตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติของงานศิลปะ เป็นการแสดง
ภาพวาดที่ยากจะเข้าถึง หรือทุกองค์ประกอบรวมกันเป็นงานอินสตอลเลชั่น แต่เหตุใดจึงไม่จัดชิ้นงานให้
มองเห็นได้ง่าย ถ้างานศิลปะจะอยู่ใต้เท้าของเรา เพราะเจษฎาต้องการเชื่อมโยงอดีตกับปัจจุบัน ทำให้ชิ้น
งานของเขากลายเป็นโบราณวัตถุ - ด้วยแรงบันดาลใจจากซิกมันด์ ฟรอยด์ (2399 - 2482) นักจิตวิเคราะห์
และสีสันต่างๆ (เขียว เหลือง ส้ม แดง ม่วง และน้ำตาล) ไม่ใช่ในรูปแบบภาพประกอบทฤษฎีสีของศิลปิน
บาวเฮ้าส์ วาสซิลี แคนดินสกี (2409 - 2487) หรือพอล เคล (2422 -2483) แต่เป็นสีที่มาจาก IQ AirVisual
แอพพลิเคชั่นวัดระดับมลพิษในหลายประเทศทั่วโลก นับตั้งแต่ต้นปี เขาเก็บข้อมูลการวัดมลพิษในสถานที่
สามแห่ง (กรุงเทพ เชียงใหม่ และตำบลบ้านปงเหนือในเชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ศิลปินอาศัยอยู่) ทุกชั่วโมง
และทุกวันเป็นเวลาหลายเดือน (ตั้งแต่มกราคมถึงพฤษภาคม 2563) แล้วนำข้อมูลมาแปลงเป็นงาน
แอ็บสแตรก ที่ระดับสีบางส่วนมาจากข้อมูลที่รวบรวมไว้ ทำไมปัญหานี้จึงดำเนินมาหลายปี โดยไม่มีทีท่า
ว่าจะดีขึ้น? เจษฎาไม่มีคำตอบ แต่ในฐานะศิลปินและประชาชน เขาถือเป็นหน้าที่จะต้องตั้งคำถามและหา
ทางออก สถานการณ์นี้ซับซ้อนและต้องใช้เวลาหลายปีที่จะแก้ไข ทั้งแขาและทุกคน จึงควรขบคิดเรื่องนี้
ตลอดทั้งปี ไม่ใช่เพียงแค่สองสามเดือนเท่านั้น
ก่อนที่ "ฤดูกาลหมอกควัน" จะกลายเป็นปรากฎการณ์ประจำปีที่ไม่อาจหลีกเลี่ยง เจมส์ แมคคาร์ธี นัก
สำรวจชาวตะวันตกสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 เคยเล่าเรื่องนี้ไว้ในบันทึกการสำรวจเชียงใหม่และเชียงราย
ในปี 2434 และ 2436 ปัจจุบันนักวิจัย โอลิวิเยร์ เอฟราร์ดและแมรี่ มอสตาฟาเนซาด กำลังศึกษาปัญหาและ
ผลกระทบจากมลพิษทางอากาศในเชียงใหม่ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ พวกเขาชี้ว่า "รูปแบบของการพัฒนาทั้งทาง
ด้านเทคนิคและความศิวิไลซ์ ยิ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมธุรกิจการเกษตรโดยไม่
เสนอวิธีการทางเลือก สร้างเขตเทือกเขาชนบทในอุดมคติโดยลดทอนความเป็นมนุษย์ จนกระทั่งระบบ
นิเวศและสังคมชายขอบถูกตัดขาดจากศูนย์กลางของเมืองไปในที่สุด"
S.E.A. FOCUS / An STPI Project
Nova Contemporary
Artists: Nim Krusaeng, Nipan Oranniwesna, Jedsada Tangtrakulwong, Tada Hengsapkul,
Latthapon Korkiatarkul, Moe Satt, Mary Pakinee, Pam Virada, Sathit Sattarasart, Anon Chaisansook
January 16 - 19, 2020
Gillman Barracks, Singapore
S.E.A. Focus is a showcase of contemporary art from Southeast Asia. It aims to bring together a curated selection of some of the finest artists and galleries from across the region to foster a deeper appreciation of contemporary art and artists in Southeast Asia. A meeting point for artistic vision and vigour, S.E.A.Focus
provides a platform to propel diverse cultural exchanges with celebrate, promote and provoke dialogue about Southeast Asian art.